จุฑามาศ ลิ้มรัตนพันธ์

ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้

เชื่อว่า “ความรู้” คือ อำนาจ รูปแบบหนึ่ง และ “การจัดการความรู้ที่ดี” ก็คือ การเชื่อม/ ต่อรอง/ ลดทอน หรือ สานสัมพันธ์กับอำนาจ (อีก) รูปแบบหนึ่งเช่นกัน ถ้าเราสามารถจัดการความรู้ได้ดี ความรู้และแหล่งที่มาของความรู้ก็จะคงอยู่ตลอดไป ขณะเดียวกันก็เชื่อใน “พลังของการเรียนรู้” และ “ความแตกต่าง” ของทุกสรรพสิ่งบนโลกใบนี้ เพราะว่า เรา “ต่าง” ก็เป็นความหลากหลายของกันและกัน และจำเป็นต้อง “เรียนรู้” เพื่อ “รู้จัก” กัน

ดาวน์โหลด cv   

การศึกษา

ปี 2547 - ศิลปศาสตรมหาบบัณฑิต (ภูมิภาคศึกษา), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปี 2543 - อักษรศาสตรบัณฑิต (สังคมศาสตร์การพัฒนา) เกียรตินิยม อันดับ2, คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความสนใจและความเชี่ยวชาญ

  • การจัดการความรู้
  • กระบวนกรอบรมการเก็บและจัดการข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรม
  • กระบวนกรอบรมด้านการบริหารโครงการ การบริหารเครือข่าย
  • การถอดบทเรียนกระบวนการบริหารและจัดการโครงการ
  • การทำงานร่วมกับคนผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ

ประสบการณ์การทำงาน

ปี 2547-2551 - เจ้าหน้าที่โครงการ (นักวิจัย) โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ปี 2552-2564 - นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) รับผิดชอบโครงการ

  • 2564 โครงการคลังข้อมูลชุมชน
  • 2559-2563 งานสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสังคม - วัฒนธรรม
  • 2558 โครงการโครงการสนับสนุนเครือข่ายและส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
  • 2552-2557 โครงการอบรม/สร้างเวทีเพื่อสร้างพลังชุมชนท้องถิ่น และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

ปี 2564-ปัจจุบัน - นักวิจัยอิสระ จัดการความรู้ จัดกิจกรรมเพื่อการศึกษา เรื่องการเขียนโครงการวิจัย การจัดเก็บและจัดการข้อมูลชุมชน งานด้านพิพิธภัณฑ์ (ทั้งการจัดทำทะเบียนวัตถุ และการจัดนิทรรศการ) เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ และกระบวนกรทำกิจกรรม

ประสบการณ์อื่น ๆ

ปี 2563

  • วิทยากรอบรม โครงการมรดกชุมชนเพื่อความยั่งยืน COMMUNITY HERITAGE FOR SUSTAINABILITY YOUTH FORUM THAILAND ของยูเนสโก

ปี 2562

  • ปรึกษากลุ่ม ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับประเทศภาคีอนุสัญญาฯ เรื่อง “แผนการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้” ของยูเนสโก

ผลงานเขียนที่สำคัญ

พ.ศ. 2560

  • บทความ เรื่อง บันทึกเรื่องราวของ “กระดาษ” เล่าเรื่องชุมชนท่าพูด ใน หนังสือ “ท่าพูด” ต่างมุมมอง ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ (บรรณาธิการ) เป็นบทบันทึกท้องถิ่นที่แสดงมุมมองของผู้เขียนบทความซึ่งเป็นนักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ที่ลงสนามทำกิจกรรมในตำบลท่าพูด อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

พ.ศ. 2559

  • บทความจำนวน 8 เรื่อง ใน หนังสือ Re-collection ย้อนทวนความหมาย “ของ”(ไม่) ธรรมดา เล่ม 1 และ 2 นวลพรรณ บุญธรรม และนุชจรี ใจเก่ง(บรรณาธิการ) เป็นบทบันทึก ว่าด้วยเรื่องราวและคุณค่าของวัตถุชุดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตผู้คน ช่วงเวลา และพื้นที่

พ.ศ. 2555

  • บทความจำนวน 9 เรื่อง ใน ภูมิรู้สู้วิกฤต เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 3 นุชจรี ใจเก่ง (บรรณาธิการ) เป็นหนังสือในชุดพิพิธภัณฑ์ ที่เกิดขึ้นจากงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ครั้งที่ 3 ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2555 ในหัวข้อ “ภูมิรู้สู้กฤต" โดยมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมาเข้าร่วมจัดงาน 68 แห่ง จากทั่วประเทศ
  • บทความ เรื่อง ริมฝั่งแม่น้ำนครชัยศรีกับเรื่องเล่าจากความทรงจำ ใน หนังสือ คน ของ ท้องถิ่น ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ (บรรณาธิการ) เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเล่าจากมุมมองของคนท้องถิ่นเกี่ยวกับยุค “สยามใหม่” ซึ่งเป็นคำเรียกขานกันอย่างไม่เป็นทางการของยุคสมัยที่รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงเวลาที่สยามก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่และเกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญยิ่งหลายด้าน

พ.ศ. 2554

  • บทความ เรื่อง ศูนย์อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมสิงคโปร์ (เขียนร่วมกับนวลพรรณ บุญธรรม) ใน หนังสือ พิพิธภัณฑ์สิงคโปร์ ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ (บรรณาธิการ) เป็นหนังสือรวมบทความหลากประเด็นที่ได้จากการทัศนศึกษาดูงานในพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ และศูนย์อนุรักษ์มรดกของสิงคโปร์

พ.ศ. 2553

  • บทความจำนวน 5 เรื่อง สูจิบัตรเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 2: สยามใหม่จากมุมมองท้องถิ่น เป็นสูจิบัตรประกอบงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2553 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เป็นการบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนท้องถิ่นในช่วงสยามใหม่ (ยุคสมัยของรัชกาลที่ 5)

พ.ศ. 2551

  • บทความ เรื่อง พิพิธภัณฑ์...กระบวนการก่อนตัดสินใจ ใน หนังสือ พิพิธภัณฑ์บันทึก ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร (บรรณาธิการ) รวม 9 บทความ จากผู้เขียนที่คลุกคลีกับงานพิพิธภัณฑ์ ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับคน ชุมชน ข้าวของ และชีวิตในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
  • บทความ จำนวน 3 เรื่อง ใน หนังสือ พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม: ประสบการณ์จากคนลองทำ ศิริพร ศรีสินธุ์อุไร (บรรณาธิการ) เรื่องราวเกี่ยวกับการถ่ายทอดวิธีการทำ งานพิพิธภัณฑ์ร่วมกับคนในชุมชนของนักวิจัย เสมือนเป็นคู่มือสำหรับคนที่คิดจะทำพิพิธภัณฑ์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไรดี แนะนำไว้ครบทั้งวิธีหาคนมาร่วม หาเรื่องมาเล่า และเอาใจใส่ข้าวของ
  • หมายเหตุ สามารถดาวน์โหลดหนังสือ ได้ที่ https://db.sac.or.th/museum/magazine/book

พ.ศ. 2548-2557

  • บรรณาธิการ (ร่วม)และเขียนบทความลง จุลสารก้าวไปด้วยกัน ตั้งแต่ปีที่ 1- ปีที่ 13 รวมทั้งหมด 28 ฉบับ สามารถอ่านได้ที่ https://db.sac.or.th/museum/magazine/newsletter