นวลพรรณ บุญธรรม

ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์

สนใจเรียนรู้ผู้คนที่หลากหลาย กระบวนการจัดการความรู้-จัดการวัฒนธรรมโดยชุมชน และการใช้ภาพถ่ายเก่า วัตถุทางวัฒนธรรมเพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และความเปลี่ยนแปลงของสังคม นอกนี้เชื่อมั่นว่าการสร้างพื้นที่ให้คนที่มีทักษะการทำงานที่หลากหลายแต่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน ได้มาแลกเปลี่ยนความคิด ประสบการณ์ และร่วมกันทำงานจะช่วยสร้างเครือข่ายความรู้ และเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็งและมีสีสันมากขึ้น

ดาวน์โหลด cv   

การศึกษา

ปี 2542-2546 - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา), สาขาวัฒนธรรมศึกษา (แขนงพิพิธภัณฑ์ศึกษา) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหิดล

ปี 2538-2542 - ศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) เกียรตินิยมอันดับ 2 วิชาเอกโบราณคดี วิชาโทพิพิธภัณฑ์ศึกษา, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความสนใจและความเชี่ยวชาญ

  • การจัดทำทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์
  • การดูแลรักษาวัตถุพิพิธภัณฑ์เบื้องต้น
  • การสืบค้นและจัดการข้อมูลพิพิธภัณฑ์-ชุมชน การบริหารเครือข่าย
  • การสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน

ประสบการณ์การทำงาน

ปี 2544-2545 - ฝ่ายวิชาการ บริษัท เอ แอล ที จำกัด

ปี 2546-2548 - เจ้าหน้าที่โครงการ โครงการปรับปรุงห้องนิทรรศการเครื่องปั้นดินเผา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ปี 2547-2551 - เจ้าหน้าที่โครงการ (นักวิจัย) โครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ปี 2551-2564 - นักวิชาการ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) รับผิดชอบโครงการวิจัยและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โครงการสนับสนุนเครือข่ายและส่งเสริมการจัดการองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และโครงการคลังข้อมูลชุมชน

  • ทำงานร่วมกับผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในการสืบค้นและจัดการข้อมูลประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมท้องถิ่น ข้อมูลพิพิธภัณฑ์และวัตถุวัฒนธรรม เช่น
    • ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธา ของชาวล้านนา (โครงการมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ศรัทธา สัการะ 2559)
    • ข้อมูลวิถีชีวิต และสังคมวัมนธรรมของคนภาคใต้ (โครงการมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ ทักษิณถิ่นไทยใต้ร่มพระบารมี 2560)
    • ข้อมูลประวัติศาสตร์และสังคมวัฒนธรรมเมืองเชียงแสน จ.เชียงราย (โครงการมหกรรมเมืองพิพิธภัณฑ์เชียงแสน 2562-2563)
    • ข้อมูลวิถีชีวิต และสังคมวัฒนธรรมของคนในลุ่มน้ำภาคกลาง (โครงการมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ 2563-2564)
    • ข้อมูลผ้าและเครื่องแต่งกายที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของคนล้านนา (โครงการมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา มหัศจรรย์สีสัน เส้นด้าย ลายผ้าล้านนา 2563-2564) ข้อมูลดังกล่าวได้นำมาเผยแพร่ให้กับสาธารณะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น นิทรรศการ หนังสือ การเสวนาวิชาการ
  • ทำงานร่วมกับชุมชนในการเก็บและจัดการข้อมูลชุมชน ในโครงการคลังข้อมูลชุมชน ของ ศมส. (2562-2564)
  • จัดทำข้อมูล เขียนบทความ และจัดทำหนังสือเล่าเรื่องราววัตถุวัฒนธรรม RE-COLLECTION (2558-2560)
  • สืบค้นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากการใช้ภาพเก่าของชุมชน เช่น ประวัติชุมชนท่าพูด อ.สามพราน จ.นครปฐม (2554) ประวัติเมืองเชียงแสน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (2562-2563)
  • จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในการทำทะเบียนวัตถุในพิพิธภัณฑ์ และการดูแลรักษาวัตถุในพิพิธภัณฑ์ให้กับผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์และผู้ปฏิบัติการทางวัฒนธรรม

ปี 2564-ปัจจุบัน - นักวิจัยอิสระ

ผลงานเขียนที่สำคัญ

  1. “ท่าพูด” ต่างมุมมอง, 2560
  2. Re-collection ย้อนทวนความหมาย ของ (ไม่) ธรรมดา เล่ม 1 และ 2, 2559 (เขียนบทความและบรรณาธิการ)
  3. ภูมิรู้สู้วิกฤต, 2555 หนังสือประกอบงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่
  4. พิพิธภัณฑ์สิงคโปร์, 2553
  5. พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม: ประสบการณ์จากคนลองทำ, 2551
  6. พิพิธภัณฑ์บันทึก, 2551
  7. หนังใหญ่วัดบ้านดอน, 2551