ธันวดี สุขประเสริฐ
ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการข้อมูล
คลุกคลีกับงานข้อมูลและการทำฐานข้อมูลมากว่า 15 ปี สนใจการทำคลังข้อมูลดิจิทัล การจัดการมรดกวัฒนธรรมในรูปแบบดิจิทัล หลงไหลการจัดการข้อมูลทุกชนิด ตั้งแต่ข้อมูลที่เกิดจากการทำงานไปจนถึงการจัดระเบียบภายในบ้าน มีมาริเอะ คนโดะ เป็นแรงบันดาลใจ เชื่อว่าหากอยากเปลี่ยนแปลงโลก เริ่มต้นที่จัดการข้อมูล
การศึกษา
ปี 2549 - ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร), คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปี 2541 - ศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์), คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ความสนใจและความเชี่ยวชาญ
- Data curation
- Information managment
- Digital Archive managment
- Intangible Cultural Heritage management
ประสบการณ์การทำงาน
ปี 2550-2564 - นักวิชาการเอกสารสนเทศ กลุ่มงานคลังข้อมูล สำนักวิชาการและสารสนเทศ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ผลงานด้านการจัดการข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูล
ปี 2550-2564 - ฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://www.sac.or.th/databases/anthroarchive/main.php
- สำรวจ รวบรวม จัดการ จัดเก็บ บันทึกภาคสนามและเอกสารส่วนบุคคลของนักมานุษยวิทยา เพื่อจัดทำเป็นเอกสารจดหมายเหตุ
- อนุรักษ์และสงวนรักษาเอกสารจดหมายเหตุ ทั้งในเชิงกายภาพและเนื้อหาด้วยกระบวนการดิจิทัล
- ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISAD(G)
- จัดทำเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวกับงานจดหมายเหตุเผยแพร่บนฐานข้อมูล
- จัดทำคู่มือการจัดเรียงเอกสารและการให้ข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ตามมาตรฐาน ISAD(G)
ปี 2550-2552 - ฐานข้อมูลจดหมายเหตุองค์กร ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
- คณะทำงานโครงการจดหมายเหตุองค์กร
- ให้คำปรึกษาในการสำรวจ รวบรวม และจัดการจดหมายเหตุองค์กร
- ร่วมออกแบบและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลจดหมายเหตุองค์กร ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISAD(G)
ปี 2555-2556 - โครงการอรรถาภิธานศัพท์วัฒนธรรม (CULTURAL THESAURUS) เพื่อการจัดการสารสนเทศของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
- คณะทำงานรวบรวมชำระคำศัพท์จากฐานข้อมูลวิชาการของ ศมส. จัดเรียงรูปแบบความสัมพันธ์ของคำ และกำหนดนิยามเพื่ออธิบายศัพท์ภาษาไทย
- พัฒนาอรรถาภิธานศัพท์วัฒนธรรม ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปใช้เป็นหัวเรื่องควบคุมสารสนเทศบนฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยา
ปี 2559-2564 - ฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://www.sac.or.th/databases/traditional-objects/th/index.php
- สำรวจ รวบรวม จัดการ ข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน เพื่อจัดทำเป็นแหล่งข้อมูลด้านวัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของไทย
- ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Dublin core
- ออกแบบและจัดทำแบบฟอร์ม (template) การบันทึกข้อมูลวัตถุทางวัฒนธรรม (material culture) ตามมาตรฐาน Dublin core
ปี 2562-2564 - ฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://db.sac.or.th/anthropologist/
- สำรวจ รวบรวม จัดการ ข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย เพื่อจัดทำเป็นแหล่งข้อมูลบุคลากรด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาของไทย
- ออกแบบและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาไทย ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Encoded Archival Context—Corporate Bodies, Persons, and Families (EAC-CPF)
- ออกแบบและจัดทำแบบฟอร์ม (template) การบันทึกข้อมูลนักวิจัย ตามมาตรฐาน EAC-CPF
ปี 2561-2564 - โครงการคลังข้อมูลชุมชน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) https://communityarchive.sac.or.th/
- ร่วมออกแบบและพัฒนาโครงสร้างฐานข้อมูลคลังข้อมูลชุมชน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Dublin core
- วิทยากรอบรมเรื่องการจัดการข้อมูลเบื้องต้น ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการคลังข้อมูลชุมชน
- ที่ปรึกษาชุมชน ด้านการเก็บข้อมูลและจัดการข้อมูลดิจิทัล
ปี 2564 - ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการและนักวิจัย องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
- ออกแบบโครงสร้างระเบียนข้อมูลนักวิจัยของ อพวช. ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Encoded Archival Context—Corporate Bodies, Persons, and Families (EAC-CPF)
- ร่วมออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลจัดการผลงานวิชาการและนักวิจัยของ อพวช.
ประสบการณ์อื่น ๆ
ปี 2556
- คณะทำงานโครงการจัดทำแนวปฏิบัติการจัดการข้อมูลดิจิทัลแบบครบวงจร (DIGITAL CONTENT POLICY) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ปี 2557
- คณะทำงานโครงการสำรวจและจัดการข้อมูลด้านสังคม-วัฒนธรรม เพื่อจัดทำคลังข้อมูลสถาบัน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
ปี 2560
- ที่ปรึกษาการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ และการพัฒนาฐานข้อมูลจดหมายเหตุดิจิทัล หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผลงานเขียนที่สำคัญ
- ธันวดี สุขประเสริฐ และสิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี. (2553). หอจดหมายเหตุแห่งชาติสิงคโปร์: คลังแห่งความทรงจำของชาติ. ใน พิพิธภัณฑ์สิงคโปร์, ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ, บรรณาธิการ. หน้า 153-181. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
- ธันวดี สุขประเสริฐ. (2557). เสียงจากเจ้าของวัฒนธรรม กรณีการส่งคืนข้อมูลกลับสู่แหล่งที่มา. ใน ชาติพันธุ์กับเสรีนิยมใหม่, นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, บรรณาธิการ. หน้า 134-157. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
- ธันวดี สุขประเสริฐ. (2562). “การเดินทางของบันทึกภาคสนาม: จากบันทึกส่วนตัวสู่คลังจดหมายเหตุบนโลกดิจิทัล”. ใน 25 ปี ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) รวมบทความจากสนาม, รุ้งตะวัน อ่วมอินทร์, บรรณาธิการ. หน้า 50-83. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
- Sookprasert, Thanwadee, and Rungcharoensuksri, Sittisak. (2013). Ethics, Access, and Rights in Anthropological Archive Management: A Case Study from Thailand. International Journal of Humanities and Arts Computing. 7: 100-110.
ผลงานแปล
- ศูนย์การศึกษาเพื่อความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (APCEIU) กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้, ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ-สปาฟา) กรุงเทพฯ ประเทศไทย และองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีมีโอ) กรุงเทพฯ ประเทศไทย. (2558). 100 ข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี. (ธันวดี สุขประเสริฐ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. http://www.unescoapceiu.org/post/3533